อาการ "ขาชา" เกิดขึ้นจากอะไร สัญญาณเตือนของโรคร้าย ?

อาการ "ขาชา" เกิดขึ้นจากอะไร สัญญาณเตือนของโรคร้าย ?

อาการชา เป็นอาการไม่พึงประสงค์ที่มักเกิดขึ้นโดยเราไม่ทันรู้ตัว มักจะปรากฏบริเวณแขนและขา หลายคนมักพบปัญหานี้หลังจากนั่งในท่าเดิมนานๆ โดยไม่ขยับร่างกาย หรือนั่งหรือนอนทับอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่ง แม้อาการขาชาจะเป็นเพียงชั่วครู่ และอาจสร้างความรำคาญในระยะสั้นๆ แต่ในความเป็นจริงแล้ว อาการขาชาอาจเป็นสัญญาณเตือนที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของระบบประสาทที่เราไม่คาดคิด

ขาชาเกิดจากอะไร และเกี่ยวข้องกับระบบประสาทอย่างไร

อาการแขนชาและขาชาเกิดจากการถูกกดทับของเส้นประสาท เนื่องจากเส้นประสาทไม่สามารถส่งสัญญาณไปถึงบริเวณแขนและขาได้ เพราะถูกกดทับจากเอ็นและพังผืด สาเหตุมาจากการอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานาน หรือใช้งานอวัยวะส่วนนั้นบ่อยๆ เช่น นั่งขัดสมาธิ จับเมาส์ นอนทับแขน หรือเล่นโทรศัพท์มือถือ ซึ่งทุกพฤติกรรมที่กล่าวมาล้วนเป็นกิจวัตรประจำวันที่ส่งผลให้เกิดอาการขาชาและแขนชาได้

ขาชา: สัญญาณเตือนของโรคร้ายที่คาดไม่ถึง

ขาชาเกิดจากการกดทับของเส้นประสาท ซึ่งหมายความว่าอาการชามาจากการทำงานของสมองและระบบประสาทโดยตรง หากคุณพบว่าขาชาไม่ใช่เพียงอาการชั่วคราว แต่มีอาการบ่อยครั้งหรือถี่เกินไปในหนึ่งวัน นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคร้ายทางสมองและระบบประสาทที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต

โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

เป็นภาวะที่กระดูกสันหลังเสื่อมสภาพจนไปกดทับเส้นประสาท ทำให้เส้นประสาทเกิดการอักเสบ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดขาจนรู้สึกขาชาลงไปถึงน่องเหมือนเป็นตะคริว การบรรเทาอาการขาชาสามารถทำได้โดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมง่ายๆ เช่น ไม่นั่งนาน เลี่ยงยกของหนัก หรือยืดกล้ามเนื้อเป็นประจำ

โรคปลายประสาทอักเสบ

เกิดจากความเสียหายของเส้นประสาท ซึ่งสาเหตุมาจากอุบัติเหตุหรือการกดทับเส้นประสาท อาการแรกเริ่มคือชามือชาเท้า และหากรุนแรงมากขึ้นจะลามไปถึงอาการขาชาหรือแขนชาได้ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การยืดเส้นยืดสาย และการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการรักษา

ขาชา: สังเกตไว รักษาได้

ขาชาเป็นอาการเริ่มต้นที่อาจเกี่ยวข้องโดยตรงกับระบบประสาทและสมอง ผู้ป่วยและคนรอบข้างควรคอยสังเกต หากเริ่มมีอาการขาชามากขึ้นหรือปวดผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์ทันที การปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบประสาทเป็นทางเลือกที่ดี ทางโรงพยาบาลพญาไท 1 มีบริการตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของระบบประสาท ณ ศูนย์สมองและระบบประสาท อาคาร 3 ชั้น 5 โดยทีมแพทย์จะประเมินอาการ วิเคราะห์ปัญหา และติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อวางแผนการรักษาให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดแก่ผู้ป่วย